ตอนนั่งสมาธิ จิตอยู่ที่ไหน

ตอนนั่งสมาธิ จิตอยู่ที่ไหน
หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง ตอบปัญหาธรรม

ผู้ถาม:- “ผมอยากจะถามหลวงพ่อหน่อยครับ คือตอนที่นั่งสมาธินี่นะครับ จิตมันอยู่ที่ไหนครับ…?”

หลวงพ่อ:- “เวลานั่งสมาธินี่ จิตมันอยู่ที่ใจโยมใช่ไหม..?”

ผู้ถาม:- “แต่กระผมได้ยินเขาบอกว่า อยู่ที่ระหว่างคิ้วบ้าง อยู่ที่ปลายจมูกบ้าง ผมก็ยังสงสัยอยู่ครับ”

หลวงพ่อ:- “นั่นเขาเอาอารมณ์เข้าไปจับ คือว่าอารมณ์เข้าไปจับมันที่ไหนก็ได้นะ แต่ว่าตามปกติแล้วพระพุทธเจ้าตรัส ท่านให้จับอยู่ตรงลมหายใจเข้าออก นี่เป็นพุทธพจน์นะ เป็นของพระพุทธเจ้าจริง ๆ เวลาทำสมาธิถ้าทิ้งลมหายใจเข้าออก สมาธิกองอื่น ๆ จะเกิดไม่ได้เลย นี่เราเรียกว่า อานาปานุสสติกรรมฐาน ถ้าทิ้งกรรมฐานกองนี้แล้ว กองอื่น ๆ ทำไม่ได้เลย”

ผู้ถาม:- “ระหว่างที่นั่งลงไปแล้ว ไอ้จิตมันก็คอยคิดแต่เรื่องงานเรื่องการ อันนี้จะทำยังไงครับ…?”

หลวงพ่อ:- “อันนี้เป็นธรรมดาโยม เขาเรียกว่า อุทธัจจะกุกกุจจะ มันเป็นธรรมดาของจิต จิตมันมีสภาพดิ้นรน คิดอยู่เสมอ และเวลาที่เราทำสมาธิก็ต้องเผลอบ้างเป็นธรรมดา ถ้าจะไม่มีการเผลอเลย มีการทรงตัวจริง ๆ เวลานั้นจิตต้องอยู่ในช่วงของฌาน ๔ อันนี้เป็นเรื่องจริง ๆ นะ”

ผู้ถาม:- “วิธีจะดับ จะดับอย่างไรครับ…?”

หลวงพ่อ:- “ผูกคอตายก็ได้”

ผู้ถาม:- (หัวเราะ)

หลวงพ่อ:- “ไอ้คำว่า ดับ ในที่นี้นะคือ ให้จิตหยุดจากอารมณ์ โยมทำไม่ได้หรอก โยมทำจริง ๆ โดยไม่คิดอะไรอื่นไม่ได้ เพราะยังไม่อยู่ในฌาน ๔ และไอ้จิตของเราถ้าให้มันอยู่ในฌาน ๔ จริง ๆ ก็ยาก เพราะว่าต้องให้จิตเข้าถึงฌาน ๔ ก่อน ถ้าเป็นฌาน ๑,๒,๓ ก็ยังดิ้นอยู่ ยังส่ายอยู่

เอาอย่างนี้ดีกว่า การเจริญพระกรรมฐานถ้ามุ่งแบบนี้มันไม่สำเร็จหรอก มุ่งเอาแต่สบายใจ ทำเวลาไหน สบายแค่ไหนพอใจแค่นั้น คือเราไม่ตั้งอารมณ์ไว้ก่อน ถ้าตั้งอารมณ์ไว้ก่อนว่าวันนี้เราต้องการฌาน ๓ ฌาน ๔ วันนั้นจะไม่ได้อะไรเลย มันเกร็งเกินไป ถ้าตั้งใจมากวันนั้นโยมทรงตัวไม่อยู่ จะต้องใช้แบบพระพุทธเจ้าที่เรียกกันว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือทำแบบปานกลาง วันไหนสบายใจแค่ไหน วันนั้นเราทำแค่นั้น พอใจแค่นั้น

การที่จะให้จิตได้จริง ๆ ต้องฝึกโดยการตั้งเวลา ถ้าทำสมาธิได้พอสมควรแล้ว ก็เริ่มตั้งเวลา ถ้าฌานน้อย ๆ ก็สัก ๓ นาที หรือใช้นับลูกประคำ ตั้งแต่ ๑ ถึง ๒๐ ในช่วง ๒๐ ไม่ให้จิตไปไหนเลย ถ้าจิตเราวอกแวกไปไหนนิดหนึ่ง เราตั้งต้นนับใหม่ ภาวนาว่า พุทโธ ก็ได้ สัมมาอรหัง ก็ได้ ภาวนาไปจบก็ดึงไปเม็ดหนึ่ง ในช่วง ๒๐ เม็ด เราจะไม่ยอมให้จิตคิดเรื่องอื่นเป็นอันขาด นอกจากคำภาวนา ถ้ามันเริ่มคิดก็ตั้งต้นใหม่ ทำอย่างนี้ ค่อยทำไป ถ้าเห็นจิตจะเฟื่องเลิกเสีย ทำอย่างนี้จนชิน จนกระทั่งหลายวันจิตไม่ไปไหน ก็ขยับไป ๓๐ เม็ด ให้มันทรงตัวจริง ๆ ตอนหลังการทรงฌานสบายมาก”

ผู้ถาม:- “นอกจากเราจะใช้คำว่า พุทโธ หรือ สัมมาอรหัง เราจะใช้คำภาวนาอย่างอื่นได้ไหมครับ เช่น วิระทะโย หรือเป็นคำภาวนาแบบภาษาไทย”

หลวงพ่อ:- “อันนี้อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้หมดนี่คุณ เป็นสมถะ อาตมาไม่ได้ห้าม สัมมาอรหัง ก็เป็น พุทธานุสตติกรรมฐาน ถึงแม้ วิระทะโย กล่าวถึงพระ ก็ใช้ได้หมด เป็นกุศลเหมือนกัน”

ผู้ถาม:- “ถ้าหากว่า นึกถึงครูบาอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่งได้ไหมครับ…?”

หลวงพ่อ:- “ได้ ถ้าครูบาอาจารย์องค์นั้นเป็นพระสงฆ์ ก็เป็น สังฆานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของพระธรรม เป็น ธัมมานุสสติกรรมฐาน แต่ไอ้ตอนนึก ถ้าเห็นว่าจิตมันซ่านเกินไป ก็ใช้คำภาวนาสั้น ๆ แทน ทั้งสองอย่างอนุญาตให้ทำได้หมด เพราะถูกต้องตามแบบ”

ผู้ถาม:- “เวลาไปชวนเขาทำสมาธิ บางคนเขาบอกว่า กลัวเป็นบ้า กลัวจะไปเห็นของน่าเกลียดน่ากลัว อันนี้เป็นความจริงไหมครับ…?”

หลวงพ่อ:- “ความจริงการเจริญสมาธิไม่มีอะไรน่ากลัว อย่าลืมว่าถ้าจิตเราดีแล้ว อย่างน้อยที่สุดจิตต้องเข้าถึงอุปจารสมาธิ มีปีติถึงจะเห็นภาพ แต่ภาพที่เราเห็นในสมาธินั้นเป็นภาพสวย เป็นภาพน่ารัก ไม่ใช่ภาพน่ากลัว ที่ว่าเป็นบ้าน่ะ ก็เพราะฝืนอาจารย์ ฝืนพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าบอกว่าการปฏิบัติต้องเว้นส่วนสุด ๒ อย่างคือ
๑.อัตตกิลมถานุโยค อย่าเครียดเกินไป
๒.กามสุขัลลิกานุโยค อย่าอยากเกินไป

ต้องใช้ มัชฌิมาปฏิปทา คือต้องทำกลาง ๆ แบบสบาย ๆ ไม่บ้านะ”

(แหม…ไอ้คนกลัวดีนี่มีเยอะจัง ทั้ง ๆ ที่เป็นของดี ถ้าไม่ดีก็คงไม่มีใครเขาแนะนำ ทีมีคนไปชวนกินเหล้า ไม่เห็นกลัวกันบ้างน่าแปลกแฮะ)

หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๔๙-๕๒
พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)

Tagged with:
Posted in หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม
หลวงพ่อเล่าเรื่องพระพุทธชินราช
เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ความเป็นมาของคาถาเงินล้าน
อานิสงส์การปิดทองลูกนิมิต
อานิสงส์การบริจาคโลงศพ
อานิสงส์ถวายสังฆทานให้แก่ผู้ป่วย
อานิสงส์การปฏิบัติภิกษุไข้
อานิสงส์ถวายสบู่หอมพระ
อานิสงส์ถวายข้าวพระพุทธรูป
อานิสงส์ถวายอาหารรูปเหมือน (หลวงพ่อ)
ทำบุญถวายอาหารบรรพบุรุษ
อานิสงส์สร้างเจดีย์บรรจุกระดูกพ่อแม่
บรรจุอัฐิของแม่ใต้ฐานพระ
อานิสงส์นอนฟังเทปธรรมะ
การเจริญมหาสติปัฏฐาน
อานิสงส์การสวดมนต์
การบูชาพระ
พระปลุกเสกพระ
คนปลุกพระ
อานิสงส์การยกฉัตร
อานิสงส์ติดไฟฟ้าห้องส้วม
อานิสงส์ทำความสะอาดห้องน้ำห้องส้วมที่วัด
อานิสงส์ทำความสะอาดวัดและถวายไม้กวาด
อานิสงส์ถวายเครื่องดนตรี
อานิสงส์บรรเลงดนตรีตามวัด
อานิสงส์อุทิศดวงตาและอุทิศศพ
อานิสงส์บริจาคโลหิตเป็นทาน
อานิสงส์สร้างสะพานและสร้างวิหารทาน
การสร้างโรงพยาบาล
อานิสงส์ถวายยานพาหนะ
อานิสงส์การบวชชีพราหมณ์
อาการของคนที่ใกล้จะตาย
เที่ยวเมืองนรก โดยครูบุญชู ศรีผ่อง
การตั้งอารมณ์ก่อนตาย
คาถาของท่านพระยายม
วิธีแนะนำคนใกล้จะตาย
ตายมือกำพระ
พ่อก่อนตายคลุ้มคลั่งมาก
ต้องการไปนิพพาน
ทำจิตก่อนตายไปนิพพาน
อานิสงส์ทำบุญตามอัธยาศัยกับแบบเจาะจง
ความเป็นมาของการตั้งศาลพระภูมิ
การตั้งศาลพระภูมิ
ตั้งศาลบนดาดฟ้า
ตั้งศาลพระภูมิเอง
วันและเวลาที่เป็นมงคล
ตั้งศาลไว้ในบ้าน
เจ้าที่
เทวดาต้องการศาล ๔ เสา
เจ้าที่เจ้าทาง
ตั้งศาลพระภูมิไว้ในใจ
ตั้งศาลพระภูมิ ๒ หลัง
จำเป็นต้องตัดต้นไม้
หน้าที่ของพระภูมิ
โรคถูกศาลพระภูมิ
โทษเจ้าที่
โทษพระภูมิ
อยากให้เจ้าที่เฮี้ยนๆ
ทำสมาธิที่บ้านว่าชุมนุมเทวดาไม่ได้
ท่องบทบวงสรวงไม่ชัด
บวงสรวงในงานทำบุญที่บ้าน
สนใจเรื่องพิธีบวงสรวง
สงสัยพิธีบวงสรวงของหลวงพ่อ
บทบวงสรวงและชุมนุมเทวดา
เครื่องบวงสรวงแบบย่อ
แก้บนท้าวมหาราช
แก้บนกรมหลวงชุมพร
การบนหลวงพ่อ ๕ พระองค์ที่วัดท่าซุง
ผู้ที่ลืมแก้บน