ปัญหาของผู้เริ่มฝึกมโนมยิทธิใหม่ๆ

ปัญหาของผู้เริ่มฝึกมโนมยิทธิใหม่ๆ
โดยหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

ผู้ถาม :- “บางคนเขาก็มาปรารภว่า มาครั้งแรกทำไมจึงฝึกไม่ได้…?”

หลวงพ่อ :- “พวกที่ไม่ได้ มันยัง ตั้งอารมณ์ไม่ถูก เขามีสิทธิ์ได้ มาถึงปุ๊บเดียว จะให้มันได้ ความเข้าใจมันยังไม่ดี ที่เรียกว่ายังไม่เข้าใจ

บางคนก็ใช้ตาดูบ้าง บางคนก็ใช้ฌานหนักเกินไป มันก็ไม่ถูกจุด สูงเกินไปนิด ต่ำเกินไปนิด ก็ไม่ได้ ต้องพอดี ๆ คือว่า ตอนจับทีแรก มันต้องอยู่แค่อารมณ์อุปจารสมาธิ เพราะอันนี้เป็นวิชชาสาม พอจับภาพได้ปุ๊บ บังเกิดความมั่นใจ จิตเป็นฌาน”

ผู้ถาม :- “ดิฉันก็เหมือนกันค่ะ เวลามีครูมาสอบถาม ว่าเห็นอะไรบ้างหรือยัง ก็ไม่เห็นอะไรทั้งนั้นเลย ตอบก็ตอบไม่ได้ เพราะไม่เห็นอะไร ไม่เจออะไร
ไม่ทราบว่าจะทำยังไงดี”

หลวงพ่อ :- “อันนี้มันเป็นอย่างนี้โยม มันเป็นอารมณ์ที่ไม่ชินนะ ทีนี้ที่เห็นนั้นเราไม่ใช้ตา มันเป็นกำลังของทิพจักขุญาณ ทิพจักขุญาณเบื้องต้นมันมัวเต็มที แล้วเราก็เห็นว่าเราจะต้องเห็นทางตา

คำว่า ทิพจักขุญาณ แปลว่า มีความรู้คล้ายตาทิพย์ มันเกิดเฉพาะความรู้สึก ไม่ใช่ลูกตาเห็น

นั่นมันเป็นอันดับก่อนที่จะก้าวขึ้น ถ้าตอนนี้เราจับอารมณ์นั้นได้ เมื่อเราจับได้แล้ว ครูเขาสนับสนุนโดยการพิจารณาตัดขันธ์ ๕ บ้าง นึกถึงบารมีของพระพุทธ เจ้าบ้าง และทำความรู้สึกเข้าหาพระจุฬามณี ตอนนี้จิตมันจะเริ่มเป็นฌาน ความรู้สึกที่ว่าเห็น มันจะมีความใสขึ้น ดีขึ้น ยิ่งกว่าเดิมหน่อยหนึ่ง หรือบางคนก็ดีมาก

ทีนี้ถ้าหากว่า ความรู้สึกที่ว่าเห็น ที่เราเรียกว่า ทิพจักขุญาณ จะดีมาก ดีน้อย ขนาดไหน มันขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของจิตในเวลานั้น

ถ้าในเวลานั้น ความรู้สึกของจิตมันล้างกิเลสไปได้มาก เทียบเท่ากับพระสกิทาคามี หรือพระอนาคามี เฉพาะในเวลานั้นนะ ไม่ได้หมายความว่า เป็นเสียจริง ๆ เลยนะ คือเวลานั้น จิตมันสะอาดเทียบเท่ากับ พระสกิทาคามี หรือพระอนาคามี ความรู้สึกที่เห็นมันชัดมาก การเคลื่อนไหวเร็วมาก”

ถ้าฝึกใหม่ ๆ ก็อยากเห็นชัดอย่างนี้ละ อีกคนหนึ่งอยากเห็นชัดเหมือนกัน ถามว่า

ผู้ถาม :- “ที่หนูทำอยู่เวลานี้ก็พอจะเห็นบ้างแต่ว่ายังไม่ชัด หนูอยากจะไปเห็นชัด ๆ ค่ะ จะทำอย่างไรคะ…?”

หลวงพ่อ :- “ถ้าอยากไปก็แสดงว่าไม่อยากไป ถ้าอยากไปมันเป็นนิวรณ์ คืออุทธัจจะกุกกุจจะ มันคอยตัด อย่าอยากไปนะ ให้ทำแบบสบาย ๆ เราพอใจในผลที่เราได้มาแล้ว ในตอนก่อน จะได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ถ้ารักษาอารมณ์ให้สว่างอย่างนี้มีผล

อย่าลืมว่าอภิญญาจริง มันยังมีเวลาอีก ๑๙ ปี กำลังอภิญญาจึงจะเข้ามาถึง ตอนนี้อภิญญาเล็ก แล้วก็พยายามฝึกไปเรื่อย ๆ นะ

ถ้าต้องการจะให้เห็นแจ่มใส ให้หมั่นจับภาพพระให้ใส เป็นประกายแก้วอยู่เสมอ วันหนึ่งสักครั้งหนึ่งให้เป็นประจำ ก่อนหลับก็ได้

ถ้าทำอย่างนี้ละก็ ท่านบอกว่า ถ้าถึงวาระอีก ๗ วันตาย ตอนนั้นจะพบพระหรือเทวดาเป็นประกายใสปลอดโปร่ง และจิตใจจะจับอยู่ในภาพนั้น และวาระนั้นนั่นแหละ จิตใจจะตัดในที่สุด คือ จิตจะตัดเข้าอรหัตผล ตายแล้วไปนิพพานทุกคน ถ้าอยากเห็นชัดละก็ ตายแล้วไปถึงนิพพานชัดแจ๋วทุกคน”

ผู้ถาม :- “หลวงพ่อคะ การนึกปั๊บเห็นปั๊บแต่เป็นภาพเดิม อย่างนี้เป็นสัญญาใช่ไหมคะ….?”

หลวงพ่อ :- “ไม่ใช่ เป็นสัญญาไม่ได้ คือว่าคนที่เขาชำนาญเขาไม่นั่งป๋อหลอหรอก อย่างฉันนึกปั๊บได้เลย บางทีไม่ทันจะนึกละ ไปแล้ว”

ผู้ถาม :- “ขึ้นไปถึงเลยหรือคะ…?”

หลวงพ่อ :- “ไปถึงเลย คือ มันจะเป็นสัญญาไม่ได้ สัญญามันได้แต่นั่งนึกเอา สัญญาก็นั่งจำแต่ภาพ เราเคยเห็นพระพุทธเจ้าในลักษณะไหน เราเคยเห็นวิมานของท่านในลักษณะไหนบ้าง วิมานของเราในลักษณะไหนบ้าง เรานั่งนึก อันนี้เป็นสัญญา พอเรารวบรวมกำลังใจปั๊บแล้วไป อันนี้เป็นอภิญญา มันไม่ใช่สัญญา”

ผู้ถาม :- “หลวงพ่อคะ หนูนั่งทีไรเห็นไม่เต็มองค์ เห็นแค่เศียร เวลาขึ้นไปข้างบน เห็นวิมาน มีหลังคาสูง ๆ แต่เข้าไม่ได้ค่ะ ทำยังไงหนูจะเข้าไปได้คะ…?”

หลวงพ่อ :- “ตัดสินใจให้มันแน่นอน อารมณ์ไม่เด็ดขาดจริง ยังห่วงขันธ์ ๕ อยู่ ยังห่วงร่างกาย ยังห่วงลูกยังห่วงฝาละมี(สามี) อะไรพวกนี้ ยังห่วงอย่างนี้เข้าไม่ได้หรอก ถ้าก่อนที่จะขึ้น ต้องตัดสินใจให้มันเด็ดขาด การเห็นภาพไม่ชัด มันบอกได้เลยว่า เราตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่ต้องไปเปิดตำราที่ไหน นี่เป็นเครื่องวัด”

ผู้ถาม :- “แต่ฝึกครั้งแรกขึ้นไปเห็นชัดมากค่ะ”

หลวงพ่อ :- “วันแรกเขาสอน เราไปตามเขา พอเขาทิ้งก็ชักห่วงหน้าห่วงหลัง พอออกไปหน่อย เอ… ไอ้โอ๋ไปไหนหว่า อยู่กับใคร… ก็ยังถือว่าดี ควรจะตัดสินใจให้มันเด็ดขาด

ตอนเช้ามืดควรจะตัดสินใจไปเลยว่า ชีวิตนี้มันทรงตัวอยู่ขนาดไหน ก็ช่างมันเถอะ ถ้าตายเมื่อไหร่ขอไปนิพพาน เอาให้แน่นอน ถ้าตั้งอารมณ์ดีจริง ๆ ถ้าตั้งใจแบบนั้น ทีหลังเห็นเต็มองค์ ไม่ยาก”

ผู้ถาม :- “หลวงพ่อคะ เวลาฝึกมโนมยิทธิ บางวันก็อารมณ์ดี ขึ้นไปก็เห็นแจ่มใส แต่มันดีเป็นพักๆค่ะ”

หลวงพ่อ :- “อารมณ์ดีเป็นพัก ๆ นี่ถูก คือว่า ที่เป็นพัก ๆ เพราะว่า ร่างกายมันยังเกาะขันธ์ ๕ ถ้าเหนื่อยเกินไป เพลียเกินไป อันนี้อารมณ์จะมัวได้

แล้วก็ประการที่ ๒ ถ้ามันป่วยขึ้นมา มันจะทำให้ประสาทสั่นคลอนนิดหนึ่ง โดยที่เราไม่รู้ตัว อันนี้มัวได้

แล้วก็ประการที่ ๓ รวบรวมกำลังใจยังไม่เต็มที่ ก็ขึ้นเลย อันนี้มัวได้

การใช้กำลังอภิญญานี่ เราจะถือความสว่างมาก สว่างน้อย ไม่สำคัญ สำคัญว่า กำลังจิตของเรา เข้าถึงจุดหมายปลายทางไหม เขาถือตัวนี้ เป็นตัวสำคัญนะ

เพราะว่าเรายังมีขันธ์ ๕ อยู่ เราจะให้ทรงตัวอยู่เป็นปกติ มันไม่ได้แน่ พระอรหันต์ยังไม่ได้เลย

บางคนก็มาบ่นให้ฟัง “ฝึกได้แล้วพอกลับไปบ้านก็มืดไปมัวไป” ก็ต้องไปดูว่ามันมืดเพราะอะไร มืดเพราะศีลบกพร่องหรือเปล่า ถ้าศีลบกพร่อง เราเข้าพระจุฬามณีไม่ได้

ถ้าบอกว่ามืดเพราะสมาธิต่ำ ไม่ใช่ ถ้าสมาธิต่ำ มันไม่แสดงอาการของการมืด แต่การเคลื่อนของจิตมันจะช้าลง การมืดหรือสว่างมันอยู่ที่วิปัสสนาญาณ

ศีล เป็นภาคพื้น
สมาธิ เป็นกำลังเดินทาง
วิปัสสนาญาณ เป็นคบเพลิงสำหรับส่องทาง

ทั้ง ๓ อย่างนี้ต้องขนานกัน แต่ว่าบางทีศีลดี สมาธิดี วิปัสสนาญาณดี แต่ว่าร่างกายไม่ดี อันนี้ก็มืดเหมือนกัน

แต่หลวงพ่อไม่งั้นนะ ถ้าร่างกายไม่ดียิ่งสว่าง เพราะว่าถ้าร่างกายไม่ดีจิตมันจะดีทันที พอเริ่มป่วยนี่ จะป่วยมากน้อยก็ตาม จิตมันจะรวมตัวทันที พร้อมใส่กระเป๋าเตรียมตัวเดินทางใช่ไหม…

จำไว้นะ ไม่ใช่พอป่วยร้องอ๋อย ๆ คือว่า ร่างกายมันจะคราง มันจะร้อง มันจะเจ็บ มันจะปวด มันเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย ไม่ใช่ว่าถือธรรมดาแล้วร่างกายจะไม่เจ็บไม่ปวด อันนั้นไม่ถูก

แม้แต่พระอรหันต์ทุกองค์ท่านก็เจ็บ ท่านก็รู้ว่าร่างกายเจ็บ ร่างกายหนาว ร่างกายร้อน ท่านก็รู้ ร่างกายป่วยไข้ไม่สบาย ท่านก็รู้ แต่ว่าท่านไม่ได้ทุกข์ จิตท่านไม่กังวล ท่านก็รักษาพยาบาล ท่านหิวท่านก็กิน ท่านร้อนท่านก็หาเครื่องเย็น ท่านหนาวท่านก็หาเครื่องอุ่น หาได้แค่ไหนพอใจแค่นั้น ถ้าหาไม่ได้ก็แค่นั้นแหละ แค่นี้เอง”

หลวงพ่อ :- “เอาละ คงจะพอเข้าใจแล้วนะ ต่อไปนี้เป็นปัญหาของผู้ฝึกได้แล้ว”

หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๑๗-๒๒
พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)

Tagged with: ,
Posted in หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม
หลวงพ่อเล่าเรื่องพระพุทธชินราช
เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ความเป็นมาของคาถาเงินล้าน
อานิสงส์การปิดทองลูกนิมิต
อานิสงส์การบริจาคโลงศพ
อานิสงส์ถวายสังฆทานให้แก่ผู้ป่วย
อานิสงส์การปฏิบัติภิกษุไข้
อานิสงส์ถวายสบู่หอมพระ
อานิสงส์ถวายข้าวพระพุทธรูป
อานิสงส์ถวายอาหารรูปเหมือน (หลวงพ่อ)
ทำบุญถวายอาหารบรรพบุรุษ
อานิสงส์สร้างเจดีย์บรรจุกระดูกพ่อแม่
บรรจุอัฐิของแม่ใต้ฐานพระ
อานิสงส์นอนฟังเทปธรรมะ
การเจริญมหาสติปัฏฐาน
อานิสงส์การสวดมนต์
การบูชาพระ
พระปลุกเสกพระ
คนปลุกพระ
อานิสงส์การยกฉัตร
อานิสงส์ติดไฟฟ้าห้องส้วม
อานิสงส์ทำความสะอาดห้องน้ำห้องส้วมที่วัด
อานิสงส์ทำความสะอาดวัดและถวายไม้กวาด
อานิสงส์ถวายเครื่องดนตรี
อานิสงส์บรรเลงดนตรีตามวัด
อานิสงส์อุทิศดวงตาและอุทิศศพ
อานิสงส์บริจาคโลหิตเป็นทาน
อานิสงส์สร้างสะพานและสร้างวิหารทาน
การสร้างโรงพยาบาล
อานิสงส์ถวายยานพาหนะ
อานิสงส์การบวชชีพราหมณ์
อาการของคนที่ใกล้จะตาย
เที่ยวเมืองนรก โดยครูบุญชู ศรีผ่อง
การตั้งอารมณ์ก่อนตาย
คาถาของท่านพระยายม
วิธีแนะนำคนใกล้จะตาย
ตายมือกำพระ
พ่อก่อนตายคลุ้มคลั่งมาก
ต้องการไปนิพพาน
ทำจิตก่อนตายไปนิพพาน
อานิสงส์ทำบุญตามอัธยาศัยกับแบบเจาะจง
ความเป็นมาของการตั้งศาลพระภูมิ
การตั้งศาลพระภูมิ
ตั้งศาลบนดาดฟ้า
ตั้งศาลพระภูมิเอง
วันและเวลาที่เป็นมงคล
ตั้งศาลไว้ในบ้าน
เจ้าที่
เทวดาต้องการศาล ๔ เสา
เจ้าที่เจ้าทาง
ตั้งศาลพระภูมิไว้ในใจ
ตั้งศาลพระภูมิ ๒ หลัง
จำเป็นต้องตัดต้นไม้
หน้าที่ของพระภูมิ
โรคถูกศาลพระภูมิ
โทษเจ้าที่
โทษพระภูมิ
อยากให้เจ้าที่เฮี้ยนๆ
ทำสมาธิที่บ้านว่าชุมนุมเทวดาไม่ได้
ท่องบทบวงสรวงไม่ชัด
บวงสรวงในงานทำบุญที่บ้าน
สนใจเรื่องพิธีบวงสรวง
สงสัยพิธีบวงสรวงของหลวงพ่อ
บทบวงสรวงและชุมนุมเทวดา
เครื่องบวงสรวงแบบย่อ
แก้บนท้าวมหาราช
แก้บนกรมหลวงชุมพร
การบนหลวงพ่อ ๕ พระองค์ที่วัดท่าซุง
ผู้ที่ลืมแก้บน