สมถกรรมฐาน-วิปัสสนากรรมฐาน

สมถกรรมฐาน-วิปัสสนากรรมฐาน
หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง ตอบปัญหาธรรม

ผู้ถาม:- “ทางที่ทำให้ดับทุกข์นั้น จะต้องเป็นทางสมถะทางเดียวใช่ไหมคะ…?”

หลวงพ่อ:- “ดับทุกข์ไปได้หลายทางหนู ถ้าดับทุกข์ถาวร คือทำกรรมฐานทางเดียว ถ้าดับทุกข์ชั่วคราว เชือดคอตายก็ดับทุกข์ แล้วไปทุกข์ใหม่ ใช่ไหม…?”

ผู้ถาม:- “กรรมฐาน คืออะไรคะ…?”

หลวงพ่อ:- “กรรมฐานมันรวม ๒ อย่าง คือ สมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน ตัวที่ทำให้เกิดอารมณ์จิตไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้สมาธิทรงตัว เขาเรียกว่า สมถกรรมฐาน ตัวที่ใช้ปัญญารู้เท่าทันสภาวะตามความเป็นจริง ไม่หลงสภาวะของโลก นี่เป็น วิปัสสนากรรมฐาน สองอย่างนี้ เราเรียกว่า กรรมฐาน เข้าใจหรือยัง…?”

ผู้ถาม:- “เข้าใจแล้วค่ะ แต่ว่ามีอีกเรื่องหนึ่งนะคะ เมื่ออาทิตย์ก่อนหนูไปเจอหนังสือเล่มหนึ่ง เขาบอกว่า คนที่หัดภาวนาอย่าหลับตา ถ้าหลับตาแล้วจะหลับไปเลย ให้ลืมตาแล้วพยายามดึงสายตาเข้ามาเรื่อยๆ จนใกล้ๆ ปลายจมูกแล้วให้เพ่งอยู่อย่างนั้น วันหนึ่งหนูก็ลองทำดู ภาวนาว่า พุทโธๆๆ แล้วพยายามดึงสายตาเข้ามาเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าไม่ได้ภาวนา ทีแรกหนูก็เห็นภาพลางๆ เหมือนคนนั่งแบบหนู นั่งหันหน้ามาทางหนู หนูตกใจรีบลุกขึ้นทันที อย่างนี้เป็นการหลอนหรือคิดไปเองคะ…?”

หลวงพ่อ:- “แล้วคิดไปเองหรือเปล่าล่ะ…?”

ผู้ถาม:- “ไม่ได้คิดค่ะ”

หลวงพ่อ:- “อ้าว…ไม่ได้คิด แต่ถามว่าคิดไปเองหรือเปล่า”

ผู้ถาม:- “คือหนูมองเพลินไป คิดว่ามันคิดไปเองค่ะ…”

หลวงพ่อ:- “ไม่ใช่หรอก มันเป็นของจริง เราไม่ได้คิดไว้ก่อนนี่ ตอนนั้นก็ต้องถือว่า จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ จึงเป็นภาพขึ้นได้ ถ้าจิตต่ำกว่าอุปจารสมาธิก็ดี หรือสูงกว่าอุปจารสมาธิก็ดี มันไม่เห็น”

ผู้ถาม:- “แล้วทำไมเหมือนกับเราไม่มีจิต ไม่มีอะไรทั้งสิ้นเลยคะ…?”

หลวงพ่อ:- “ก็บอกแล้วว่าระหว่างนั้นจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิอยู่ จิตเราบังเอิญเข้าจังหวะพอดี ตามธรรมดาเรามีสมาธิอยู่แล้วทุกคน ไม่ใช่ว่าไม่มี ถ้าเราเกิดมาไม่มีสมาธิ มันพูดกันไม่รู้เรื่องหรอก ใช่ไหม…คิดว่าจะกินข้าว ดีไม่ดีไปเข้าส้วม นี่ไม่มีสมาธิ สมาธิคือการตั้งใจ ตั้งใจว่าจะทำอะไรนี่เป็นสมาธิ”

ผู้ถาม:- “แสดงว่าเรามีสมาธิ จึงจะเห็นใช่ไหมคะ…?”

หลวงพ่อ:- “แต่ต้องพอดีนะ สมาธิมันมีหลายอย่างนะ มี ขณิกสมาธิ คือสมาธิเล็กน้อย อุปจารสมาธิ ก็หมายถึงสมาธิใกล้เฉียดฌาน และ อัปนาสมาธิ ก็หมายถึงฌาน ฌานแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น ฌาน ๑,๒,๓,๔ แต่จุดที่เราจะเห็นจริงๆ คือ อุปจารสมาธิ จุดนี้จุดเดียว”

ผู้ถาม:- “หลวงพ่อคะ ถ้าขณะภาวนา หลับตาได้ไหมคะ…?”

หลวงพ่อ:- “หลับตาหรือลืมตาก็ใช้ได้หมด ถ้าเราไม่นึกถึงตาไม่นึกถึงยาย ก็ลืมทั้งตาทั้งยาย ใช่ไหม…ลืมตาหรือหลับตาไม่มีความหมายหรอกหนู…การเจริญพระกรรมฐานมิใช่หลับตาเสมอไป ถ้าเราลืมตามองเห็นอย่างอื่นมันฟุ้งซ่านก็หลับตาเสีย ถ้าหลับตาแล้วจิตมันซ่านเกินไปก็ลืมตา

เวลานั่ง นั่งหน้าพระพุทธรูป เวลาหลับตาภาวนาแล้วฟุ้งซ่าน ให้ลืมตามองดูพระพุทธรูป ถ้าจิตเรานึกว่าพระพุทธรูป นี่เป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าคิดว่าพระพุทธรูปนี่มีสีเหลือง ก็เป็น ปิตกสิณ เลยได้ ๒ อย่างควบใช่ไหม… คือว่า การเจริญพระกรรมฐาน เราฝึกที่ใจ ไม่ใช่ฝึกที่ตา สมาธิมันอยู่ที่ใจใช่ไหมล่ะ…”

ผู้ถาม:- “หนูอ่านเจอในหนังสืออีกเล่มหนึ่ง เขียนว่าการนั่งสมาธิจะต้องมีความพร้อม คือพร้อมทั้งตัวเองและสภาวะแวดล้อมด้วย อย่างเช่นต้องการความสงบสภาพแวดล้อมก็ต้องสงบด้วย และตัวเราเองต้องสงบด้วย สงบทั้งข้างในและข้างนอก”

หลวงพ่อ:- “ไม่ต้องอธิบายหรอกหนู เป็นอรหันต์แล้ว หลวงพ่อยอมแล้ว แหม…ตำรามันแน่จริง ๆ อ่านจบทำได้ตามนั้น ก็ไม่ต้องไปฝึกแล้ว”

ผู้ถาม:- “ทำไม่ได้หรือคะ…?”

หลวงพ่อ:- “ทำได้ยังไง เขายกช้างมาให้แบก สงบนอกสงบใน หมายความว่าเป็นอรหันต์แล้ว”

ผู้ถาม:- “แล้วเวลานั่งสมาธิ จิตจะสบายขึ้นใช่ไหมคะ…?”

หลวงพ่อ:- “ก็สุดแล้วแต่เรา เวลานั้นเราทรงอารมณ์ดีหรือไม่ดี ถ้าดีก็สบายขึ้น ถ้าไม่ดีก็กลุ้มขึ้น”

ผู้ถาม:- “หนูเคยนั่งที่บ้าน พอนั่งภาวนาไปครู่หนึ่ง รู้สึกมันเครียดค่ะ”

หลวงพ่อ:- “นั่นทำไม่ถูก หนู”

ผู้ถาม:- “ไม่ถูกยังไงคะ…?”

หลวงพ่อ:- “ก็ทำเหนื่อย”

ผู้ถาม:- “แล้วจะทำยังไงคะ…?”

หลวงพ่อ:- “ถ้าเครียดเกินไป เราตั้งอารมณ์เสียใหม่ หายใจยาวๆ ๒-๓ ครั้ง ก็หายเครียด แล้วเริ่มภาวนาใหม่”

ผู้ถาม:- “หลวงพ่อคะ บางครั้งขณะภาวนาจิตใจมันฟุ้งซ่านมากค่ะ จะแก้ไขอย่างไรดีคะ…?”

หลวงพ่อ:- “ถ้ามันฟุ้งซ่านจนกระทั่งคุมใจไม่ติด อันนี้ต้องเลิกเหมือนกัน ถ้ามันเป็นอย่างนี้ก็อย่าฝืนไปภาวนาเข้า ปล่อยมันไปตามสบาย มันอยากจะคิดอะไรก็เชิญมัน เราต้องรู้จักยืดหยุ่น พระพุทธเจ้าท่านแนะไว้ ๒ นัย คือ ถ้ามันฟุ้งจริงๆ ก็ปล่อยใจให้คิดไปตามต้องการ อีกอันหนึ่งก็เลิกเสีย

เวลาที่เราปล่อยใจไปตามอารมณ์ อีกสักครู่เดียวไม่นานมันก็เลิกคิด พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าเหมือนม้าพยศ กอดคอให้มันวิ่งไปจนเหนื่อย เหนื่อยแล้วก็บังคับให้มันทำตามต้องการ จิตใจก็เหมือนกัน สติตั้งใจ ถ้ามันเลิกคิดเมื่อไร เราจะภาวนาและพิจารณาต่อไป เริ่มจับอารมณ์ใหม่ คราวนี้มันทรงอารมณ์ดิ่งจริงๆ ละเอียดและสุขุมมากอยู่นาน บางทีครึ่งชั่วโมงหรือชั่วโมงกว่า นี่เป็นวิธีเอาชนะความฟุ้งซ่านและรำคาญ”

หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๔๓-๔๖
พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)

Tagged with: , ,
Posted in หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม
หลวงพ่อเล่าเรื่องพระพุทธชินราช
เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ความเป็นมาของคาถาเงินล้าน
อานิสงส์การปิดทองลูกนิมิต
อานิสงส์การบริจาคโลงศพ
อานิสงส์ถวายสังฆทานให้แก่ผู้ป่วย
อานิสงส์การปฏิบัติภิกษุไข้
อานิสงส์ถวายสบู่หอมพระ
อานิสงส์ถวายข้าวพระพุทธรูป
อานิสงส์ถวายอาหารรูปเหมือน (หลวงพ่อ)
ทำบุญถวายอาหารบรรพบุรุษ
อานิสงส์สร้างเจดีย์บรรจุกระดูกพ่อแม่
บรรจุอัฐิของแม่ใต้ฐานพระ
อานิสงส์นอนฟังเทปธรรมะ
การเจริญมหาสติปัฏฐาน
อานิสงส์การสวดมนต์
การบูชาพระ
พระปลุกเสกพระ
คนปลุกพระ
อานิสงส์การยกฉัตร
อานิสงส์ติดไฟฟ้าห้องส้วม
อานิสงส์ทำความสะอาดห้องน้ำห้องส้วมที่วัด
อานิสงส์ทำความสะอาดวัดและถวายไม้กวาด
อานิสงส์ถวายเครื่องดนตรี
อานิสงส์บรรเลงดนตรีตามวัด
อานิสงส์อุทิศดวงตาและอุทิศศพ
อานิสงส์บริจาคโลหิตเป็นทาน
อานิสงส์สร้างสะพานและสร้างวิหารทาน
การสร้างโรงพยาบาล
อานิสงส์ถวายยานพาหนะ
อานิสงส์การบวชชีพราหมณ์
อาการของคนที่ใกล้จะตาย
เที่ยวเมืองนรก โดยครูบุญชู ศรีผ่อง
การตั้งอารมณ์ก่อนตาย
คาถาของท่านพระยายม
วิธีแนะนำคนใกล้จะตาย
ตายมือกำพระ
พ่อก่อนตายคลุ้มคลั่งมาก
ต้องการไปนิพพาน
ทำจิตก่อนตายไปนิพพาน
อานิสงส์ทำบุญตามอัธยาศัยกับแบบเจาะจง
ความเป็นมาของการตั้งศาลพระภูมิ
การตั้งศาลพระภูมิ
ตั้งศาลบนดาดฟ้า
ตั้งศาลพระภูมิเอง
วันและเวลาที่เป็นมงคล
ตั้งศาลไว้ในบ้าน
เจ้าที่
เทวดาต้องการศาล ๔ เสา
เจ้าที่เจ้าทาง
ตั้งศาลพระภูมิไว้ในใจ
ตั้งศาลพระภูมิ ๒ หลัง
จำเป็นต้องตัดต้นไม้
หน้าที่ของพระภูมิ
โรคถูกศาลพระภูมิ
โทษเจ้าที่
โทษพระภูมิ
อยากให้เจ้าที่เฮี้ยนๆ
ทำสมาธิที่บ้านว่าชุมนุมเทวดาไม่ได้
ท่องบทบวงสรวงไม่ชัด
บวงสรวงในงานทำบุญที่บ้าน
สนใจเรื่องพิธีบวงสรวง
สงสัยพิธีบวงสรวงของหลวงพ่อ
บทบวงสรวงและชุมนุมเทวดา
เครื่องบวงสรวงแบบย่อ
แก้บนท้าวมหาราช
แก้บนกรมหลวงชุมพร
การบนหลวงพ่อ ๕ พระองค์ที่วัดท่าซุง
ผู้ที่ลืมแก้บน