เรื่องฌานกับนิมิต

เรื่องฌานกับนิมิต
หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง ตอบปัญหาธรรม

ผู้ถาม:- “หนูไม่ทราบว่าได้ฌานอะไรค่ะ คือว่าจิตนิ่ง แต่ว่ามองอะไรไม่เห็น”

หลวงพ่อ:- “ดีมาก…เขาเรียกว่า ฌานมัว ไอ้เรื่องของฌานเขาไม่ได้เห็นหรอกหนู การทำสมาธิไม่ใช่เรื่องของการเห็น เรื่องของการเห็นเขาต้องฝึกอีกระดับหนึ่ง คือในเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วต้องฝึกทิพจักขุญาณ มันจึงจะเห็น แต่ว่าการฝึกสมาธิแล้วเห็นภาพว๊อบๆ แว๊บๆ ผ่านไปผ่านมา นั่นจิตเข้าขั้นอุปจารสมาธิ ขั้นอุปจารสมาธินี้ อาจจะได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ได้ แต่ก็แว๊บเดียว อันนี้เขาไม่ใช้ เขาไม่ถือว่าเป็นของดี ยังไม่ต้องการ

กรรมฐานน่ะมันมี ๒ อย่าง คือ สมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน สองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไป ต้องเข้าใจว่า การทำสมถภาวนาเป็นอุบายเพื่อทำให้ใจสงบ ทำจิตให้เป็นสุข ไม่ใช่ต้องการเห็น วิปัสสนาภาวนาทำให้ใจมีปัญญาขึ้น คือยอมรับนับถือกฏของความเป็นจริง

เขาต้องการแบบนี้นะ เขาไม่ต้องการเห็นหรอก ถ้าอยากเห็นก็ลืมตา ถ้าดับไฟเห็นไม่ถนัดก็เปิดไฟฟ้า จะได้เห็นทั่ว ใช่ไหม…อย่างนี้ก็พลาดจุดหมายน่ะซิ”

ผู้ถาม:- “หลวงพ่อคะ เวลานั่งปฏิบัติสมาธิคล้ายๆ จิตตกจากที่สูง มันเป็นยังไงคะ…?”

หลวงพ่อ:- “อ๋อ…ตอนนั้นถ้าจิตมันอยู่ในฌาน มันจะมีอารมณ์ดิ่งสบาย จิตเป็นสุข ถ้าจิตพลัดจากฌานแรงเกินไป มันก็วาบเหมือนกับตกในที่สูง อาการอย่างนี้บางคนก็ประสบ บางคนก็ไม่ประสบ ถ้าป้องกันอาการอย่างนี้ไม่ให้เกิด พอเริ่มต้นจะภาวนาให้หายใจยาวๆ เหมือนกับเขาเกณฑ์ทหาร หายใจสัก ๓-๔ ครั้ง เป็นการระบายลมหยาบ ตอนเริ่มต้นมันหยาบ พอจิตเป็นสมาธิ จิตมันจะละเอียดอยู่ข้างล่าง พอเป็นฌานจิตมันละเอียดมาก มันก็ดันลมหยาบออก”

ผู้ถาม:- “แต่สังเกตดูลมหายใจบางครั้งเหมือนกับลมหยุดเบาเหลือเกินค่ะ เราควรจะกระตุ้นมันไหมคะ…?”

หลวงพ่อ:- “อย่า อย่า ความรู้สึกคล้ายว่าลมหยุด ตอนนั้นจิตเป็นฌาน ๔ ลมมันไม่ได้หยุดหรอก ถ้าหยุดเราก็ตาย ถ้าเป็นฌานสูงขึ้นจะรู้สึกว่าลมหายใจเบาลง ความจริงลมปกติ แต่จิตมันแยกกับประสาท พอถึงปฐมฌาน จิตแยกจากประสาทนิดหนึ่ง ถ้าตามธรรมดาเราต้องการเงียบ หูได้ยินเสียงมันจะรำคาญ พอถึงปฐมฌานมันจะไม่รำคาญ พอถึงฌานที่สอง ลมจะรู้สึกเบาลงไปหน่อย พอถึงฌานที่ ๔ จะไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ความจริงร่างกายหายใจเป็นปกติ แต่จิตมันแยกจากประสาท จิตมันแยกห่างออกมา”

ผู้ถาม:- “ต้องปล่อยลงไปเรื่อยๆ นะคะ…?”

หลวงพ่อ:- “ปล่อยไป ถ้าจิตมันเต็มกำลังมันก็ลดของมันเอง”

ผู้ถาม:- “ดิฉันจับอานาปาค่ะ ถึงมีอารมณ์อย่างนั้น…?”

หลวงพ่อ:- “ความจริงกรรมฐานทุกกองต้องควบอานาปา ถ้าไม่งั้นจิตไม่ทรงฌาน อานาปาต้องใช้เป็นพื้นฐาน กรรมฐาน ๓๙ อย่าง เราใช้ได้ แต่ว่าต้องควบคุมอยู่กับอานาปาเสมอไป ถ้าไม่มีอานาปาควบ จิตจะเป็นฌานไม่ได้”

ผู้ถาม:- “ถ้าไม่จับอานาปา ก็ภาวนาแทนได้ไหมคะ…?”

หลวงพ่อ:- “ภาวนาเฉยๆ จิตไม่เข้าถึงฌาน จะต้องมีอานาปาควบคู่กับคำภาวนา หายใจเข้านึกว่า “พุท” หายใจออกนึกว่า “โธ” “พุทโธ” เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน แต่เรารู้ลมหายใจเข้าออกด้วยเป็นอานาปานุสสติกรรมฐาน ถ้าใช้คู่กันจิตจะเป็นฌานเร็ว”

ผู้ถาม:- “หลวงพ่อคะ ในขณะที่เรานั่งภาวนาไปพักหนึ่งแลัว ก็ได้เห็นแสงเป็นวงสีขาว แต่เราจับไม่นิ่ง แล้วจะทำยังไงคะ…?”

หลวงพ่อ:- “เอาอะไรจับ…?”

ผู้ถาม:- “จิตซิคะ”

หลวงพ่อ:- “ไม่มีทาง เพราะแสงนั้นไม่ใช่แสงสำหรับจับ แสงสำหรับจับต้องเป็นกสิณ ถ้าสีขาว เขียว แดง เหลือง ถ้าปรากฏขึ้นขณะภาวนา มันเป็นนิมิตของอานาปานุสสติ ไม่มีทางจับ”

ผู้ถาม:- “ที่เห็นอันนี้เหมือนดาวค่ะ”

หลวงพ่อ:- “เหมือนดาว เหมือนเดือน เหมือนพระอาทิตย์ ก็เหมือนกันแหละ คล้ายๆ กับดาวเป็นดวงๆ ใช่ไหม…?”

ผู้ถาม:- “ใช่ค่ะ”

หลวงพ่อ:- “นั่นแหละ เขาเรียกว่าเป็นนิมิตของอานาปา จับไม่ได้ เพราะอะไรจึงจับไม่อยู่ เพราะจิตเราไม่หยุด ถ้าจิตเคลื่อนนิด นั่นก็ไหวตัวหน่อย นิมิตน่ะ เป็นเครื่องวัดจิตของเราว่า ในขณะนั้นมันทรงตัวขนาดไหน และจิตแค่อุปจารสมาธิ มันไม่ทรงตัว ต้องเป็นฌาน ที่เห็นนั่นน่ะ จิตถึงอุปจารสมาธิพอดี เพราะจิตพอเริ่มเข้าสู่อุปจารสมาธิ อารมณ์เริ่มเป็นทิพย์ ที่เห็นแสงสีน่ะเบาเกินไป ถ้าอารมณ์ดีกว่านั้นจะเห็นภาพเทวดา เห็นภาพพรหมได้เลย แต่ก็แว๊บเดียวอีกนั้นแหละ พอเห็นปั๊บเราตกใจ สะดุดนิด เคลื่อน จิตไม่ทรงตัว”

ผู้ถาม:- “แล้วที่อย่างมีแสง คล้ายแสงไฟฉายวูบมาอย่างนี้ล่ะคะ…?”

หลวงพ่อ:- “ก็เหมือนกันนั่นแหละ ยี่ห้อเดียวกัน”

ผู้ถาม:- “แต่ที่เห็น มันลักษณะไม่เหมือนกันคะ หลวงพ่อ”

หลวงพ่อ:- “ก็เหมือนกันนั่นแหละ แสงต่างกัน หายครือกัน จับไม่อยู่เหมือนกัน”

ผู้ถาม:- (หัวเราะ)

หลวงพ่อ:- “ถ้านิมิตเกิดขึ้น จับไม่อยู่ ต้องเริ่มตั้งต้นด้วยกสิณ ต้องเป็นนิมิตของกสิณ จึงจะทรงตัว คือนิมิตหรือแสงหรือสีนั้น เราต้องจับไว้ก่อนตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ใช่ปล่อยลอยมา”

ผู้ถาม:- “ถ้าอย่างนั้นก็ต้องไปเริ่มต้นจับภาพกสิณ ใช่ไหมคะ…?”

หลวงพ่อ:- “เดี๋ยวนี้เราไม่ต้องไปทำกสิณแล้ว เพราะคนที่มีกำลังสูงด้านศรัทธามีบุญเก่า เวลานี้เขาใช้ฝึกผลของกสิณเลย ถึงได้เร็วไงล่ะ ถ้าเริ่มต้นฝึกทางกสิณ ในบาลีท่านเรียกว่า อาทิกัมมิกบุคคล หมายถึง คนทีไม่เคยได้มาเลยในชาติก่อน ต้องขึ้นต้นด้วยกสิณ อย่างนี้ช้ามาก แค่กสิณกองเดียวให้ถึงฌาน ๔ ดีไม่ดีหลายตาย ไม่ใช่ตายเดียวนะ เกิดมาชาตินี้ทำจนตาย เกิดมาชาติใหม่ทำต่ออีก กว่าจะถึงฌาน ๔ ไม่ใช่เบา หนักมาก

ทีนี้หากว่าคนที่เคยได้มาก่อน อย่างทิพจักขุญาณ ในวิสุทธิมรรคท่านบอกว่า แม้แต่มองแสงสว่างที่รอดมาจากช่องฝาหรือช่องเพดาน ก็สามารถได้ทิพจักขุญาณเลย

อย่างที่พวกเราฝึกเวลานี้ ฝึกมโนมยิทธิ มันหนักกว่า ใช่ไหม…ฝึกประเดี๋ยวได้ๆ เพราะพวกนี้เคยได้มาก่อน แต่ว่าผู้ฝึกจะต้องทราบ เวลานี้ฉันสอนคนเก่าที่ได้มาก่อนทั้งนั้นนะ คนที่ยังไม่ได้ไปหาที่อื่น ฉันขี้เกียจสอน”

ผู้ถาม:- “แล้วหนูจะทราบได้อย่างไรคะ ว่าเคยได้มาก่อน…?”

หลวงพ่อ:- “ก็ต้องดูขั้นพอใจ เขาฝึกกันแบบนี้เราพอใจหรือเปล่า ถ้าพอใจด้วยความจริงใจ อันนี้ใช่ละ ต้องเคยได้มาก่อน ไม่งั้นไม่เอาเลย ต้องดูศรัทธาตรงนี้นะ คือเห็นเขาฝึกกันเราก็อยากได้บ้าง เกิดความต้องการขึ้นมาจริงจัง อันนี้ของเก่ามันบอก”

หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๕๕-๕๙
พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)

Tagged with: , ,
Posted in หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม
หลวงพ่อเล่าเรื่องพระพุทธชินราช
เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ความเป็นมาของคาถาเงินล้าน
อานิสงส์การปิดทองลูกนิมิต
อานิสงส์การบริจาคโลงศพ
อานิสงส์ถวายสังฆทานให้แก่ผู้ป่วย
อานิสงส์การปฏิบัติภิกษุไข้
อานิสงส์ถวายสบู่หอมพระ
อานิสงส์ถวายข้าวพระพุทธรูป
อานิสงส์ถวายอาหารรูปเหมือน (หลวงพ่อ)
ทำบุญถวายอาหารบรรพบุรุษ
อานิสงส์สร้างเจดีย์บรรจุกระดูกพ่อแม่
บรรจุอัฐิของแม่ใต้ฐานพระ
อานิสงส์นอนฟังเทปธรรมะ
การเจริญมหาสติปัฏฐาน
อานิสงส์การสวดมนต์
การบูชาพระ
พระปลุกเสกพระ
คนปลุกพระ
อานิสงส์การยกฉัตร
อานิสงส์ติดไฟฟ้าห้องส้วม
อานิสงส์ทำความสะอาดห้องน้ำห้องส้วมที่วัด
อานิสงส์ทำความสะอาดวัดและถวายไม้กวาด
อานิสงส์ถวายเครื่องดนตรี
อานิสงส์บรรเลงดนตรีตามวัด
อานิสงส์อุทิศดวงตาและอุทิศศพ
อานิสงส์บริจาคโลหิตเป็นทาน
อานิสงส์สร้างสะพานและสร้างวิหารทาน
การสร้างโรงพยาบาล
อานิสงส์ถวายยานพาหนะ
อานิสงส์การบวชชีพราหมณ์
อาการของคนที่ใกล้จะตาย
เที่ยวเมืองนรก โดยครูบุญชู ศรีผ่อง
การตั้งอารมณ์ก่อนตาย
คาถาของท่านพระยายม
วิธีแนะนำคนใกล้จะตาย
ตายมือกำพระ
พ่อก่อนตายคลุ้มคลั่งมาก
ต้องการไปนิพพาน
ทำจิตก่อนตายไปนิพพาน
อานิสงส์ทำบุญตามอัธยาศัยกับแบบเจาะจง
ความเป็นมาของการตั้งศาลพระภูมิ
การตั้งศาลพระภูมิ
ตั้งศาลบนดาดฟ้า
ตั้งศาลพระภูมิเอง
วันและเวลาที่เป็นมงคล
ตั้งศาลไว้ในบ้าน
เจ้าที่
เทวดาต้องการศาล ๔ เสา
เจ้าที่เจ้าทาง
ตั้งศาลพระภูมิไว้ในใจ
ตั้งศาลพระภูมิ ๒ หลัง
จำเป็นต้องตัดต้นไม้
หน้าที่ของพระภูมิ
โรคถูกศาลพระภูมิ
โทษเจ้าที่
โทษพระภูมิ
อยากให้เจ้าที่เฮี้ยนๆ
ทำสมาธิที่บ้านว่าชุมนุมเทวดาไม่ได้
ท่องบทบวงสรวงไม่ชัด
บวงสรวงในงานทำบุญที่บ้าน
สนใจเรื่องพิธีบวงสรวง
สงสัยพิธีบวงสรวงของหลวงพ่อ
บทบวงสรวงและชุมนุมเทวดา
เครื่องบวงสรวงแบบย่อ
แก้บนท้าวมหาราช
แก้บนกรมหลวงชุมพร
การบนหลวงพ่อ ๕ พระองค์ที่วัดท่าซุง
ผู้ที่ลืมแก้บน